วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของคอมพิวเตอร์

Image Hosted by CompGamer Image Host

ลูกคิด(Abacus)

คอมพิวเตอร์(Computer) หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณ (Calculating Device) มาจากคำ ศัพท์ภาษาละตินว่า COMPUTARE ซึ่งหมายถึง การนับ หรือการคำนวณจะเห็นว่ามีอุปกรณ์มากหมายที่เราสามารถใช้ในการคำนวณได้ เช่น ลูกคิด (Abacus) เครื่องบวกเลข (Adding Maching) หรือเครื่องคิดเลข (Pocket Calculator) ที่เราสามารถพกพาไปไหนได้

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานบริการคอมพิวเตอร์(2104-2216)

บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
บทที่3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
บทที่4 ส่วนประกอบของแผงวงจรหลัก
บทที่5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บของมูล
บทที่6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
บทที่7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ
บทที่8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
บทที่9 การจัดการฮาร์ดดิสก์
บทที่10 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
บทที่11 การติดตั้งไดรเวอร์
บทที่12 รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์

คำขวัญของวิทยาลับเทคนิคสมุทรสงคราม


ทักษะเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชาการ สมานสัมคคี